ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

27 ก.ค. 2550

รูปกิจกรรมการปลูกหม่อน โครงการ ขุนแตะฯ

แปลงหม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับการแปรรูป

โรงบ่มไวน์ผลหม่อน

ถังบ่มไวน์ ผลหม่อน ในโรงบ่มไวน์

แปลงหม่อน พันธุ์บุรีรัมย์ 60 สำหรับทำชาหม่อน

โรงแปรรูปชาใบหม่อน ขุนแตะ

สไตล์ปะกอกะฌอ (กระเหรี่ยง)

12 ก.ค. 2550

การดำเนินงาน ด้านหม่อนไหม โครงการบ้านแปกแซม

แปลงหม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ ในพื้นที่ โครงการฯ

อบรมเกษตรกร ชาวลีซอ ทอผ้าไหมผสม ขนแกะ

เกษตรกร กำลังผลิตเส้นขนแกะ

หม่อน..... เส้นทางสู่ เภสัชโภชนาภัณฑ์ มีการนำหม่อนมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ นอกจากใช้ใบเป็นอาหารของหนอนไหม เช่น ผลหม่อนนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ แยม ฯลฯ ใบผลิตเป็นชาใบหม่อนเครื่องดื่มยอดนิยม ทำให้หม่อนกลายมาเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและปลอดภัยต่อมนุษย์ ทำให้ทุกวันนี้ “หม่อน” ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็น เภสัชโภชนาภัณฑ์” (Nutraceuticals) คือ อาหารที่มีสรรพคุณเป็นยา (functional foods) หม่อน (mulberry : Morus spp.) ที่นำมาแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม มี 2 ส่วน คือ ผลหม่อน และใบหม่อน ในผลหม่อนสุก (ผลสีม่วงดำทั้งผล) มีสารสำคัญเหล่านี้ประมาณ 2 เท่า ของผลหม่อนห่าม (ผลสีแดง 50% สีม่วงดำ 50%) มีมากในผลหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์เชียงใหม่ นอกจากนั้นผลหม่อนยังมีกรดโฟลิก (folic acid) สูง ในผลสุก มีมากกว่าผลห่าม สารนี้จะมีมากในพันธุ์ศรีสะเกษ 33 และพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ซึ่งมีมากกว่า บลูเบอร์รี่ ถึง 2-3 เท่า (29, 21 และ 10 ไมโครกรัม / ผลหม่อน 100 กรัม ตามลำดับ) บรรพบุรุษของเราได้นำผลหม่อนมาต้มเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ ดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต มานานแล้ว ประโยชน์ของกรดโฟลิก และความต้องการกรดโฟลิก 1. ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเจริญเต็มที่ ถ้าขาดจะเป็นโรคโลหิตจาง 2. ทำให้เซลล์ประสาทไขสันหลังและเซลล์สมองเจริญเป็นปกติ 3. สตรีมีครรภ์ต้องการกรดโฟลิก 0.4 มิลลิกรัม / วัน คนปกติ 0.1 มิลลิกรัม / วัน ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ 1. ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก 2. ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง 3. ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ 4. ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว 5. สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถดูดซึมเข้าร่างกายทางลำไส้เล็กและไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ 6. พืชใช้สารเหล่านี้เพื่อให้ทนต่อ ลม ฝน แสงแดด ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องอาศัยจากพืช 2. ใบหม่อน มีการนำใบหม่อนแปรรูป เป็น ชาใบหม่อน และผงหม่อน เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม และส่วน ประกอบของอาหารหลากหลาย ชนิด ตำราแพทย์สมุนไพร กล่าวว่า ใบหม่อน ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ ต้มดื่ม แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท แก้โรคตา ได้หลายชนิด เช่น ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาฟาง ใบหม่อน มีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และรูติน (rutin) นอกจากนั้นยังพบ ชาใบหม่อน มีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค วิโรจน์ แก้วเรือง และคณะ พบสารโพลีฟีนอล หลายชนิดในใบหม่อน และน้ำชาใบหม่อน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี และจะพบมากในใบหม่อนส่วน ยอด มากกว่า ใบอ่อน และ ใบแก่ ตามลำดับ พันธุ์หม่อนที่มีสารออกฤทธิ์สูง ได้แก่ พันธุ์คุณไพ บุรีรัมย์60 และนครราชสีมา60 การผลิตชาใบหม่อนในรูปของชาเขียว จะให้ปริมาณสารเควอซิติน เคมเฟอรอล และโพลีฟีนอลโดยรวมสูงสุด และใช้วิธีการนึ่งหรือผ่านไอน้ำเดือดเป็นเวลา 1 – 2 นาที แทนวิธีการเดิมที่เคยแนะนำให้ลวกน้ำร้อน 20 วินาที แล้วจุ่มน้ำเย็นทันที เนื่องจากวิธีนี้สารออกฤทธิ์ในใบหม่อนจะสูญเสียไปส่วนหนึ่ง การชงชาใบหม่อน การชงชาใบหม่อนด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80–90 องศาเซลเซียส จะทำให้สาระสำคัญ ละลายออกมาได้ดีกว่าการชงด้วยน้ำเย็น ดังนั้น ถ้าจะดื่มชาใบหม่อนควรชงไว้นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัช และน้ำชาเขียวใบหม่อนแบบพาสเจอไรซ์ ควรเก็บไว้ไม่เกิน 9 วัน จะเห็นว่า อาหารและเครื่องดื่มจากผลหม่อนและใบหม่อน สามารถเป็นเภสัชโภชนาภัณฑ์ ได้โดยมีผลงานวิจัยรองรับจากนักวิจัยหลายกลุ่ม หลายสถาบัน มานานกว่า 10 ปี มีการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยกลุ่มเกษตรกร บริษัท และองค์กรต่าง ๆ พร้อมวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หลายแห่ง ดังนั้นถ้าท่านสนใจข้อมูลในการปลูกหม่อนเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ โปรดติดต่อ สมมช. สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เกษตรกลางบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-579-5595, 025793118 โทรสาร 02-9406564 www.qthaisilk.com และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ทุกแห่ง

รายชื่อเกษตรกรบ้านโป่งถืบ

รายชื่อเกษตรกรในโครงการฯ รายชื่อเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านโป่งถืบ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1. นางพรเพ็ญ โพธิ์เวียง 3-5009-00442-88-3 69 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 2. นางสำราญ บุญเขื่อง 3-3017-00002-26-2 58 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 3. นางจิราภรณ์ ชองรัมย์ 3-3017-01030-56-1 38 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 4. นางบัวมัน ชองรัมย์ 90 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 5. นางสาวม่อม บุญผูก 3-3017-01024-56-1 108 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 6 .นางหัน หวังนอก 3-3017-01025-87-8 2 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 7. นางมะลิ รักษา 3-3017-01024-03-1 74 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 3 งาน 8 . นางเพ็ญศรี ปิตตานัง 3-3017-01026-44-1 36 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 9. นางหนูคล้าย อาญาเมือง 3-3017-01029-48-2 40 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 10 . นางสุพิน ทองโกย 3-3017-01028-84-2 25 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 11. นางบุญมา มาโดน 3-3017-01029-69-5 9 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 12. นางสมจิตร สังสัมฤทธิ์ 3-3017-01029-50-4 96 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 ไร่ 13. นางทองม้วน โพธิ์จันทร์ 3-5009-00442-65-4 31 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 14. นางมะลิ เทสานอก 3-5009-00439-48-3 93 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 15 . นางพิมพา ทวยหา 3-5009-00442-60-3 76 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 16. นางบุญเฮียง แกล้วกล้า 3-3017-00688-65-2 100 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 17. นางทองจันทร์ ในรัมย์ 3-5009-00442-43-3 10 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 18. นางยุพิน กุ้งมะเริง 3-3102-00083-95-5 73 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 19. นางฉวีวรรณ จันทร์ภิรมย์ 3-5009-00442-41-1 11 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 20. นางสานทอง ปินตานัง 3-3017-01029-41-6 116 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 21. นางอรุณ ทองโกย 3-3017-00920-50-4 26 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 22. นางโถ นิลพิมาย 150 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 23. นางสำรวย เสร็จกิจ 3-5009-00443-05-7 72 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 24. นางทองคูณ ตันตะวาโย 27 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 25. นายบุตรดี ตันตะวาโย 73/2 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 26. นางแก้ว ยอดนครจง 3-3017-00156-42-1 49/1 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 27. นางลำพูน พลเยี่ยม 83 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 1 งาน 28. นางมณี ปทุมสา 3-3017-00156-43-0 53 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 2 งาน 29. นางสมบูรณ์ ดีไธสง 3-5009-00443-52-9 83/1 ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 30. นางสิริพร รัตนะ 3-5009-00836-51-2 53 ม.7 ต.แม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 30 ไร่

มัลเบอรี่ : มหัศจรรย์แห่งผลไม้

มัลเบอรี่ : มหัศจรรย์แห่งผลไม้ มัลเบอรี่ (Mulberry : Morus spp.) ผลไม้ที่ทรงคุณค่า แต่หารับประทานยาก เดิมเป็นผลพลอยได้จากการปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์60 ซึ่งนอกจากให้ผลผลิตใบสำหรับเลี้ยงไหมแล้ว ยังให้ผลหม่อนสดรสชาติดีอีกด้วย ปัจจุบัน สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พบหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ให้ผลดก ได้ผลผลิตมากกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี และได้นำผลหม่อนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อาทิ กรดโฟลิก (Folic acid) ซึ่งพบว่า ทารกที่เกิดจากมารดาที่ขาดกรดโฟลิกมีความเสี่ยงที่จะพิการทางสมองและประสาทไขสันหลัง นอกจากนั้นยังพบสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอนโธไชยานิน เควอซิติน ที่มีส่วนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ตำรับยาโบราณมีการใช้ผลหม่อนต้มบริโภคทั้งเนื้อและน้ำแก้โรคไขข้ออักเสบ ท้องผูก โลหิตจาง และขับเสมหะ ผลมัลเบอรี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกหม่อน เมื่อนำมาทำเครื่องดื่มและอาหารแล้วรสชาติสีสันและคุณค่าทางอาหาร ไม่ด้อยไปกว่าผลบลูเบอรี่ ผลราสพ์เบอรี่ และแบล็คเบอรี่ ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงมาก ดังนั้นอาหารที่ใช้ผลไม้ดังกล่าวเป็นส่วนผสมจึงสามารถใช้ผลหม่อนทดแทนได้ทั้งหมด เช่น เค้ก โดนัท พาย และไอศกรีม ฯลฯ ผลหม่อน : ผลหม่อนห่าม จะมีสีแดง ให้รสเปรี้ยว ผลหม่อนสุก จะมีสีม่วงดำ ให้รสหวานจัด ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีจำหน่าย : น้ำหม่อน แยมหม่อน ไวน์หม่อน ฯลฯ สถานที่ติดต่อ : สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เกษตรกลางบางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 0-2579-3118 , 0-2579-5595

มารู้จัก ชาใบหม่อน ก่อนดื่ม

มารู้จัก...ชาใบหม่อน...ก่อนดื่ม หม่อน (Morus spp.) สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารของหนอนไหม กลายมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยมของมนุษย์ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมมช.) ได้บุกเบิกการค้นคว้าวิจัยการผลิตชาใบหม่อนและสรรพคุณของพืชชนิดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ร่วมกับสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบใบหม่อนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และ รูติน(rutin) นอกจากนั้นยังพบชาใบหม่อนมีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค พันธุ์หม่อนที่เหมาะสม การผลิตชาใบหม่อนในปัจจุบันนิยมใช้พันธุ์ที่มีสารออกฤทธิ์สูง ได้แก่ พันธุ์คุณไพ บุรีรัมย์60 และนครราชสีมา60 การดื่มชาใบหม่อน ชงด้วยน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม โดยใช้ชาใบหม่อน 1-2 กรัมต่อน้ำร้อน 100 ซีซี การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อน บรรจุภัณฑ์ต้องสะอาด ป้องกันความชื้นและแสงแดดได้ มีเครื่องหมาย อย. มีชื่อที่อยู่ของผู้ผลิต พร้อมวันผลิตและวันหมดอายุ ที่มา : เอกสารเผยแพร่ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ

11 ก.ค. 2550

หม่อนพันธุ์แนะนำ : หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่

สรุปข้อมูลพันธุ์แนะนำ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พันธุ์หม่อนผลสดที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปสู่ระบบอุตสาหกรรม ประวัติ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ เป็นพันธุ์หม่อนผลสดที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน อีกทั้งไม่มีชื่อพันธุ์มาก่อน สามารถสืบค้นต้นกำเนิดได้เพียงว่า ในราวปี 2515 นายโกสิ่ว แซ่โก ได้นำพันธุ์จากอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาปลูกไว้ในสวนที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 – 2547 ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี ศูนย์หม่อนไหมแพร่และสถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจ รวบรวมพันธุ์หม่อนผลสด นำมาเปรียบเทียบผลผลิต ศึกษาวิธีการเขตกรรม ขยายพันธุ์ ตลอดจนวิธีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา จนพบว่า เป็นพันธุ์หม่อนที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม จึงเสนอเป็นพันธุ์หม่อนผลสดแนะนำพันธุ์เชียงใหม่ 60 ลักษณะเด่น 1. ให้ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี 2. ผลมีขนาดใหญ่และปริมาณกรดสูง เหมาะสมสำหรับบริโภคสด และการแปรรูป 3. สามารถกำหนดเวลาให้ผลผลิตได้ ด้วยวิธีการบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูกาล 4. ขยายพันธุ์ได้ง่าย พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ดอนของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ในระหว่างที่ต้นหม่อนออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด 1. ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า 2. ต้องการน้ำในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ระหว่างการออกดอกติดผลจนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีผลผลิตสูง ข้อมูลนำเสนอประกอบการพิจารณาพันธุ์แนะนำ กรมวิชาการเกษตร หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ----------------------------------------------- 1. คำนำ ประเทศจีนรู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 4,700 ปี ในระยะแรก การปลูกหม่อนเน้นเพื่อ ใช้ใบสำหรับเลี้ยงหนอนไหม ผลิตรังไหมและเส้นไหม นำมาถักทอเป็นผืนผ้าและเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น และยังคงสืบทอดกันมา ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมา มีการใช้ผลหม่อนเป็นพืชสมุนไพรทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย หูอื้อ ผมหงอกก่อนวัย คอแห้งกระหายน้ำ ช่วยให้นอนหลับ และช่วยระบายท้อง ชาวไทยภูเขาภาคเหนือ จำนวนมากปลูกหม่อนผลสดไว้เป็นไม้ผลริมรั้ว จำหน่ายให้นักท่องเที่ยวหรือชาวไทยพื้นราบ เช่น ที่ตลาดต้นลำไย ตลาดต้นพยอม อำเภอเมือง และริมทางหลวงบริเวณโครงการหลวงอินทนนท์ ที่บ้าน ขุนกลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนในต่างประเทศ นิยมทำอาหารและเครื่องดื่มจากผลไม้กลุ่ม เบอร์รี่มาก อีกทั้งผลไม้เหล่านี้ยังมีราคาแพง เช่น ในรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีราคาสูงถึง 800-1,200 บาท ต่อกิโลกรัม อีกทั้งนิยมปลูกหม่อนเป็นไม้บังลม รอบสวนองุ่นและสวนผลไม้อื่นๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของนก ในเมืองบาคู (Baku) เมืองหลวงของประเทศอาเซอร์ไบซัน มีการปลูกต้นหม่อนอยู่ทั่วไปทั้งในสวนสาธารณะ หรือปลูกร่วมกับผลไม้อื่นๆ โดยนิยมนำมาผลิตเป็นน้ำหวาน และในประเทศจอร์เจียและ อาร์เมเนีย นิยมนำมาทำวอดก้า ในออสเตรเลีย โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก นิยมปลูกหม่อนไว้ในสนามหลังบ้าน เป็นผลไม้ประจำบ้าน และมีจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตตามฤดูกาล องค์การเภสัชกรรมของอังกฤษ ได้นำผลหม่อนมาผลิตยาแผนปัจจุบันเป็นยาน้ำเชื่อม ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบาย และใช้กลั้วคอลดอาการอักเสบลำคอ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ได้มุ่งเน้นให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น หม่อนผลสดเป็นผลผลิตทางการเกษตรชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง จึงเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนาวิธีการแปรรูปหม่อนผลสดเป็นผลสำเร็จ เช่น การทำแยม เยลลี่ ลูกอม ไวน์ และน้ำผลไม้ พร้อมดื่ม สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไวน์หม่อนผลสด และน้ำผลหม่อนพร้อมดื่ม ฯลฯ ให้กับผู้ผลิตระดับครัวเรือน ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม โดยมีมูลค่าของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของ ผลหม่อนในปี 2548 ดังนี้คือ ไวน์หม่อน 85,320,000 บาท น้ำหม่อน 29,850,000 บาท ส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มโปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว 2,400,000 บาท และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น แยม พาย ไอศกรีม ผลไม้แช่อิ่ม ฯลฯ 10,000,000 บาท รวมทั้งสิ้น 127,570,000 บาท (รายละเอียดในตารางที่ 1) ปัจจุบันมีการนำผลหม่อนมาผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย โดยสถาบันศิลปะศาสตร์การอาหาร เพื่อทดแทนการนำเข้าผลไม้และผลิตภัณฑ์จำพวกเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ ฯลฯ ที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับผลหม่อน ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลการปลูกหม่อน เพื่อการเก็บเกี่ยวผลสด รวมทั้งพันธุ์ที่เหมาะสม ุเพื่อเป็นการคัดเลือกพันธุ์หม่อนผลสด ที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมมช.) จึงได้สำรวจพันธุ์หม่อนผลสด และนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี 2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พันธุ์หม่อนผลสดที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปสู่ระบบอุตสาหกรรม 3. ประวัติ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่นี้ เดิมไม่มีชื่อพันธุ์ พบว่า ปลูกบนที่สูงในเขตภาคเหนือ โดยชาวเขาและเกษตรกรทั่วไปปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ผลริมรั้วรอบบ้าน และเก็บผลหม่อนจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นตามฤดูกาล มานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าได้นำมาจากไหน ตั้งแต่เมื่อใด ในปี 2515 นาย โกสิ่ว แซ่โก เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำหม่อนพันธุ์นี้มาจากอำเภอดอยสะเก็ด มาปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ หลังวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำผลหม่อนสดมาอบแห้งและแปรรูปเป็นไวน์หม่อน ในปี 2526 สถาบันวิจัยหม่อนไหม ได้นำหม่อนพันธุ์ดังกล่าวมาศึกษา ดังนี้ พ.ศ. 2526 เก็บรวบรวมหม่อนจากพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 28 สายพันธุ์มา ติดตาบนหม่อนพันธุ์น้อย สายพันธุ์ละ 10 ต้น เพื่อศึกษาคุณลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโตและผลผลิตผลสด พ.ศ. 2529 คัดเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตผลสดสูง เพื่อทำการ ขยายพันธุ์ โดยให้ชื่อสายพันธุ์ว่า “ชม.26-01” พ.ศ. 2534 – 2544 ศึกษาการแปรรูปผลหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อันได้แก่ น้ำผลหม่อน ไวน์หม่อน แยมหม่อน เยลลี่หม่อน ลูกอมผลหม่อน พ.ศ. 2538 – 2540 สำรวจรวบรวมพันธุ์หม่อนผลสดจากจังหวัดเชียงใหม่ ชุมพร นราธิวาส และหม่อนลูกผสมที่มีผลหม่อน เช่น พันธุ์บุรีรัมย์ 60 นครราชสีมา 60 ศรีสะเกษ 33 พ.ศ. 2540 – 2547 เปรียบเทียบผลผลิตหม่อนผลสดที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี โดยใช้ชื่อ เบื้องต้นว่าพันธุ์เชียงใหม่ พ.ศ. 2541 – 2544 ศึกษาวิธีการบังคับให้หม่อนผลสดออกดอกและติดผลนอกฤดูกาล ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ พ.ศ. 2542 – 2547 ศึกษาระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม อุดรธานี พ.ศ. 2543 – 2546 ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา สำรวจโรคและแมลงศัตรูผลหม่อน ที่สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน เกษตรกรและบริษัทเอกชนปลูกหม่อนพันธุ์นี้เป็นการค้า และแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ 4. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ สถานที่ดำเนินการ พ.ศ. 2526 เก็บรวบรวมสายพันธุ์หม่อน สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2529 คัดเลือกสายพันธุ์ ได้ “ชม.26-01” สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2534-2544 ศึกษาการแปรรูปผลหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2538-2540 สำรวจรวบรวมพันธุ์หม่อนผลสด จาก เชียงใหม่ ชุมพร นราธิวาส ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2540-2547 เปรียบเทียบผลผลิตผลหม่อนสด ได้ “เชียงใหม่” ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2541-2544 ศึกษาวิธีการบังคับให้ออกดอกและ ติดผลนอกฤดูกาล ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ พ.ศ. 2542-2547 ศึกษาระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่ง ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2543-2546 - ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ -วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและ เภสัชวิทยา - สำรวจโรคและแมลงศัตรูผลหม่อน - ขยายพันธุ์ สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ สถานีทดลองหม่อนไหมตาก ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน เกษตรกรและภาคเอกชนขอรับพันธุ์หม่อน เพื่อดำเนินการเชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิม- พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 5. ลักษณะประจำพันธุ์ 5.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เพศเมีย 2 n = 28 ผลกลุ่มหรือผลช่อ (multiple fruit) 5.2 ลักษณะทางการเกษตร - ความสูงเฉลี่ยของต้น (1ปี หลังการตัดแต่งกิ่ง) 2.10 เมตร - ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย (1 ปี หลังการตัดแต่งกิ่ง) 2.70 เมตร - ลักษณะการออกดอก ทยอยออกดอกประมาณ 30 วัน - ลักษณะผลแก่ สีแดง - ลักษณะผลห่าม สีแดงดำ - ลักษณะผลสุก สีม่วงดำ - ความยาวผลเฉลี่ย 2.90 เซนติเมตร - ความกว้างผลเฉลี่ย 1.05 เซนติเมตร - น้ำหนักผลสุกเฉลี่ย 2.50 กรัม - อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 34-45 วัน หลังผลิดอก - ฤดูเก็บเกี่ยว เดือนมีนาคม - เมษายน - ผลผลิตในฤดูกาล 1,733 กิโลกรัม/ไร่/ปี (ค่าเฉลี่ย 3–5 ปี) - ผลผลิตนอกฤดู 803 กิโลกรัม/ไร่/ปี (ปีที่ 3) - การขยายพันธุ์ ดัวยท่อนพันธุ์ 5.3 คุณสมบัติทางเคมี ผลหม่อนสด ผลห่าม ผลสุก - เปอร์เซ็นต์ความชื้น 87.00 83.50 - ความหวาน (๐brix) 10.05 13.10 - ปริมาณกรด (TA, % w/w as citric â) 1.35 0.65 ผลหม่อนแห้ง (100 กรัม) - เปอร์เซ็นต์โปรตีน 12.81 1.68 - เปอร์เซ็นต์ไขมัน 4.94 0.47 - เปอร์เซ็นต์คาร์โบไฮเดรท 58.14 21.35 - เปอร์เซ็นต์เยื่อใย 6.74 2.03 - เปอร์เซ็นต์เถ้า 0.06 1.52 - เปอร์เซ็นต์ความชื้น 16.56 72.95 ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (สารเควอซิติน) ในผลหม่อน (มก./100 ก.) ผลสด ผลแห้ง - ผลห่าม 0.88 10.18 - ผลสุก 3.42 17.63 6. ลักษณะเด่น 5.1 ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี 5.2 ผลมีขนาดใหญ่และมีปริมาณกรดสูง เหมาะสมสำหรับบริโภคสดและการแปรรูป เมื่อเทียบกับ ผลหม่อนพันธุ์อื่น ๆ 5.3 สามารถบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูกาลได้ 5.4 ขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยใช้ท่อนพันธุ์ 7. พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขังของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ในระหว่างที่ต้นหม่อนออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น 8. ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด 7.1 ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า 7.2 ต้องการน้ำในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ระหว่างการออกดอกติดผลจนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีผลผลิตสูง 9. ข้อมูลสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเด่น 9.1 ผลผลิต ผลหม่อนต่อไร่ต่อปี จากการปลูกในระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ระยะปลูก 2 x 2 เมตร) และมีการ ตัดแต่งกิ่งแบบตัดต่ำที่ระดับ 25 เซนติเมตร เหนือพื้นดิน จะเห็นว่า หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ อื่น ๆ ( ตารางที่ 2) โดยมีองค์ประกอบของต้นที่เหมาะสมและสะดวกในขณะเก็บเกี่ยว (ตารางที่ 3) ส่วนการปลูกในระบบแถว (ระยะปลูก 0.75 x 2 เมตร) และมีการตัดแต่งกิ่งให้มีกิ่งจากโคน 3–5 กิ่งแล้วตัดยอดที่ระดับ 1 เมตร เหนือพื้นดิน (ทรงพุ่มสูง) หม่อนพันธุ์เชียงใหม่จะให้ผลผลิตของผลหม่อน 1,360 1,234 4,084 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อต้นหม่อนมีอายุ 2 3 และ 4 ปี ตามลำดับ สูงกว่าระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งแบบอื่น ๆ (ตารางที่ 6) มีข้อสังเกตว่า ผลผลิตหม่อนเมื่ออายุ 4 ปี (ปีการผลิต 2546/47) สูงกว่าปีอื่นมาก อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้แก่ อุณหภูมิต่ำ และมีฝนในช่วงออกดอกและติดผล (ตารางที่ 6 ภาพที่ 1 และ 2 ตามลำดับ) 9.2 ลักษณะทางกายภาพและเคมีของผลหม่อนพันธุ์ต่าง ๆ จะเห็นว่าหม่อนพันธุ์เชียงใหม่มีน้ำหนักผล 2.5 กรัม และมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ (ตารางที่ 3) นอกจากนั้นยังมีปริมาณกรดในระยะผลห่ามและผลสุกเท่ากับ 1.40 และ 0.64 %w/w as citic acid ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าหม่อนพันธุ์อื่นทุกพันธุ์ แต่มีลักษณะอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันในระหว่างพันธุ์ (ตารางที่ 5) 9.3 หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ สามารถบังคับ ให้ผลิตผลหม่อน นอกฤดูกาลได้ (ตารางที่ 7 และ 8) 9.4 หม่อนพันธุ์เชียงใหม่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย และมีเปอร์เซ็นต์รอดของต้นกล้า โดยวิธีการปักชำและตอนกิ่งสูง (ตารางที่ 9) 9.5 ผลผลิตผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ จากการสำรวจ ในภาคเกษตรกร ภาคตะวันออก จำนวน 40 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี (อายุต้นหม่อน 5 ปี) ภาคเหนือ จำนวน 97 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี (อายุต้นหม่อน 3 ปี) (ที่มาของข้อมูล : บริษัท ซีวาย บอสส์ฟู้ด เชียงรายไวน์เนอร์รี่ เวียงพิงค์ไวน์เนอร์รี่ และ สามหมอกไวน์เนอร์รี่) 10. ข้อมูลการปรับปรุงพันธุ์ พ.ศ. 2526 เก็บรวบรวมหม่อนจากพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 28 สายพันธุ์มา ติดตาบนหม่อนพันธุ์น้อย สายพันธุ์ละ 10 ต้น เพื่อศึกษาคุณลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโตและผลผลิตผลสด พ.ศ. 2529 คัดเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตผลสดสูง เพื่อทำการ ขยายพันธุ์ โดยให้ชื่อสายพันธุ์ว่า “ชม.26-01” พ.ศ. 2534 – 2544 ศึกษาการแปรรูปผลหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อันได้แก่ น้ำผลหม่อน ไวน์หม่อน แยมหม่อน เยลลี่หม่อน ลูกอมผลหม่อน พ.ศ. 2538 – 2540 สำรวจรวบรวมพันธุ์หม่อนผลสดจากจังหวัดเชียงใหม่ ชุมพร นราธิวาส และหม่อนลูกผสมที่มีผลหม่อน เช่น พันธุ์บุรีรัมย์ 60 นครราชสีมา 60 ศรีสะเกษ 33 พ.ศ. 2540 – 2547 เปรียบเทียบผลผลิตหม่อนผลสดที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี โดยใช้ชื่อ เบื้องต้นว่าพันธุ์เชียงใหม่ (ตารางที่ 2-5) พ.ศ. 2541 – 2544 ศึกษาวิธีการบังคับให้หม่อนผลสดออกดอกและติดผลนอกฤดูกาล ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ (ตารางที่ 7-8 และภาพที่ 8) พ.ศ. 2542 – 2547 ศึกษาระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม อุดรธานี (ตารางที่ 6) พ.ศ. 2543 – 2546 ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ (ตารางที่ 9) วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัช วิทยา สำรวจโรคและแมลงศัตรูผลหม่อน ที่สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน เกษตรกรและบริษัทเอกชนปลูกหม่อนพันธุ์นี้เป็นการค้า และแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ 11. ความพร้อมของพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ แจกจ่ายแก่เกษตรกรหรือผู้สนใจได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ต้น 12. การตั้งชื่อพันธุ์ ขอตั้งชื่อหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่เป็นพันธุ์ “เชียงใหม่ 80” (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา) 13. คณะผู้ดำเนินงาน สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ วสันต์ นุ้ยภิรมย์ วิโรจน์ แก้วเรือง ดนัย นาคประเสริฐ สมชาย ลือมั่นคง เยาวภา สุกฤตานนท์ รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์ พินัย ห้องทองแดง ประเวศ แสงเพชร ประเวช แสนนามวงษ์ กอบกุล แสนนามวงษ์ สุชาติ จุลพูล ภัควิภา เพชรวิชิต บุษรา ระวินู ธเนศ จันทน์เทศ สมชาย กันหลง รังษี เจริญสถาพร ทิพรรณี เสนะวงศ์ วรรนภา วีระภักดี คำนิยม คณะผู้ดำเนินงานขอขอบคุณ นายพีระพงศ์ เชาวน์เสฏฐกุล ผู้อำนวยการสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร และนายวิทยวัฒน์ กุญชร ณ อยุธยา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ผู้ให้คำเสนอแนะในการจัดทำเอกสารเสนอเป็นพันธุ์พืชแนะนำ ตลอดจน ดร.สมชาย จอมดวง คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.จิราพร ตยุติวุฒิกุล ดร.อังสนา อัครพิศาล ดร.ไสว บูรณพาณิชพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ให้ความอนุเคราะห์ในด้านเครื่องมือ และเทคนิควิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ของการทดลอง จนได้มาซึ่งข้อมูลประจำพันธุ์หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ 80 บรรณานุกรม จิราพร ตยุติวุฒิกุล ไสว บูรณพานิชพันธุ์ วสันต์ นุ้ยภิรมย์ และดนัย นาคประเสริฐ. 2546. การสำรวจและ จำแนกแมลงศัตรูหม่อน : แมลงศัตรูหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่. หน้า 13–28. ใน : รายงานความก้าวหน้า ประจำปี 2546 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์. สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. ชัยรัตน์ โมไนยพงศ์. 2546. หน้า 82. ใน : ไวน์ ไวน์ ไวน์ หนังสือสำหรับผู้ผลิตไวน์มือใหม่. บริษัทโปรลายน์ มีเดีย จำกัด. กรุงเทพฯ. ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงษ์. 2549. ลูกหม่อนเล็กพริกขี้หนู. ---------------------------------------- รังษี เจริญสถาพร อังสนา อัครพิศาล รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์ และวสันต์ นุ้ยภิรมย์. 2546. สำรวจโรคหม่อนผลสด และจำแนกเชื้อสาเหตุโรคผลหม่อน. หน้า 7–12. ใน : รายงานความก้าวหน้าประจำปี2546 ชุดโครงการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. วสันต์ นุ้ยภิรมย์. 2546. หม่อนรับประทานผลและการแปรรูป. สถาบันหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 74 น. วสันต์ นุ้ยภิรมย์ ชาญณรงค์ พูนศิลป์ ไชยยงค์ สำราญถิ่น ปาน ปั้นเหน่งเพชร อนุสรณ์ เหลือแก้ว และ พงษ์พันธุ์ จึงอยู่สุข. 2545. ศึกษาวิธีการบังคับทรงพุ่มให้หม่อนรับประทานผลออกดอก. หน้า 1 – 18. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2545 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. วสันต์ นุ้ยภิรมย์ และธเนศ จันทน์เทศ. 2546. การขยายพันธุ์หม่อนผลสด : โดยวิธีการปักชำและตอนกิ่ง. หน้า 1–6. ใน : รายงานความก้าวหน้า ประจำปี 2546 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต หม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. วิโรจน์ แก้วเรือง. 2546. ดงดอกหม่อน. หน้า 60-63. ใน : น.ส.พ. กสิกร ปีที่ 76 (3) พฤษภาคม-มิถุนายน 2546. วิโรจน์ แก้วเรือง. 2548. ผลหม่อนจากบ้านนาสู่สากล. หน้า 44-50. ใน : น.ส.พ. กสิกร ปีที่ 78 (2) มีนาคม- เมษายน 2548. วิโรจน์ แก้วเรือง ประยูร หาสาง กิตติชัย จันทคัต และสมบัติ สุภาภา. 2539. การทำแยมจากผลหม่อน. หน้า 98–116. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2538 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการ เกษตร. วิโรจน์ แก้วเรือง แสงเงิน ไกรสิงห์ กัลยาณี ตันติธรรม สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ ประทีป มีศิลป์ สมบูรณ์ โกมลนาค ณรงค์ รักษ์รัตนกร ประยูร หาสาง และพัจนา ชูพานิช. 2536. การศึกษาคุณค่าทาง อาหารของผลหม่อนและการนำมาใช้ประโยชน์. หน้า 15–27. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2535 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ และวิโรจน์ แก้วเรือง. 2548. ความสัมพันธ์ของระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งต่อผลผลิตผลหม่อน. หน้า 169-187. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2547 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ และวิโรจน์ แก้วเรือง. 2548. เปรียบเทียบพันธุ์หม่อนเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตผลหม่อน. หน้า 188-200. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2547 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ สมชาย จอมดวง วสันต์ นุ้ยภิรมย์ และวิโรจน์ แก้วเรือง. 2546. ศึกษาการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของหม่อนผลสด : ดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ ในและ นอกฤดูกาล. หน้า 29–43. ใน : รายงานความก้าวหน้าประจำปี 2546 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตหม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์. สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร.

โครงสร้างการบริหารและอัตรากำลัง

โครงสร้างศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ นักวิชาการเกษตร 8
งานวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม นางเสาวณีย์ อภิญานุวัฒน์ นักวิชาการเกษตร 5
งานส่งเสริมและธุรกิจหม่อนไหม นายสมโภชน์ ป้านสุวรรณ์ นักวิชาการเกษตร 6
นางสาวหทัยกาญจน์ นำภานนท์ นักวิชาการเกษตร 5 หัวหน้างานธุรการ นางปภาพินธ์ จันทร์ดา เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 5
หัวหน้าการเงิน นางวนิดา จันทรา
อัตรากำลัง ข้าราชการ 5 อัตรา 1. นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 2. นายสมโภชน์ ป้านสุวรรณ์ นักวิชาการเกษตร 6 3. นางเสาวณีย์ อภิญญานุวัฒน์ นักวิชาการเกษตร 5 4. นางสาวหทัยกาญจน์ นำภานนท์ นักวิชาการเกษตร 5 5. นางปภาพินท์ จันทร์ดา เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 5 ลูกจ้างประจำ 13 อัตรา 1. นางยศวดี มะโนรัตน์ พนักงานประจำห้องทดลอง 2. นายอุทัย จั๋นกัน คนงานเกษตร 3. นายเจต จันทร์ทอง พนักงานขับรถยนต์ 4. นายสถิตย์ มหาไม้ ยาม 5. นายธนันชัย ปาวิน พนักงานประจำห้องทดลอง 6. นายชุมภู สนธิ คนงาน 7. นายสาโรจน์ โชคดี ช่างไม้ 8. นางเตือนใจ ภู่นุช คนงาน 9. นายปิยะ คำเผือ ยาม 10. นายนิโรจน์ ตาจักร พนักงานขับรถแทรกเตอร์ 11. นายไพโรจน์ วงศ์จันทร์ พนักงานขับรถยนต์ 12. นายจิรวัฒน์ อรุณประพันธ์ คนงานเกษตร 13. นางจุฬารัตน์ มณีชมพู คนงานเกษตร พนักงานราชการ 22 อัตรา 1. นางมุกดา กันทะวงค์ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ 2. นางวนิดา จันทรา เจ้าพนักงานธุรการ 3. นายสถิต ไชยเลิศ เจ้าพนักงานการเกษตร 4. นางสาวสุนันทา อินต๊ะคำ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ 5. นายสุชาติ วงศ์ธานุวัฒน์ นักวิชาการเกษตร 6. นางอัจฉรา ศรีบุญเรือง พนักงานประจำห้องทดลอง 7. นายราชัญ วรจารุวรรณ เจ้าหน้าที่การเกษตร 8. นางดวงรัตน์ เรืองเดช เจ้าหน้าที่การเกษตร 9. นายประยูร ขะยอม คนงานทดลองการเกษตร 10. นางจินตนา คำม่วง คนงานทดลองการเกษตร 11. นางเที่ยง สุมนา คนงานทดลองการเกษตร 12. นางทองพูน ใจเย็น คนงานทดลองการเกษตร 13. นางสุนีย์ ใจสวน คนงานทดลองการเกษตร 14. นางจันทร์ดี ศรีบุญเรือง คนงานทดลองการเกษตร 15. นางเรือนแก้ว วิชัย คนงานทดลองการเกษตร 16. นายพรหมมา ปัญญา คนงานทดลองการเกษตร 17. นางแสงจันทร์ นันตา คนงานทดลองการเกษตร 18. นายสว่าง วงค์ปัญญา คนงานทดลองการเกษตร 19. นายอนงค์ หมูคำ คนงานทดลองการเกษตร 20. นายไว ปัญญา คนงานทดลองการเกษตร 21. นางจันทร์หอม สารวัต คนงานทดลองการเกษตร 22. นายคำแสน สมคำเอ้ย คนงานทดลองการเกษตร พนักงานจ้างเหมา 20 อัตรา