ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

14 ส.ค. 2550

กิจกรรมการดำเนินงาน

ฯพณฯ องคมนตรี ท่านพลากร สุวรรณรัตน์ ติดตามงานโครงการฯ เมือ่เดือน มีนาคม 2551
นายราชัณ วรจารุวรรณ เจ้าหน้าที่หม่อนไหม ประจำโครงการ ให้การต้อนรับ แทน ผอ.ศูนย์ฯ

อบรมการแปรรูป แยมผลหม่อนให้แก่เกษตรกร ในโครงการฯ

สภาพแปลงหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ของโครงการฯ

สภาพโดยทั่วไป ของโครงการฯ
ตั้งอยู่ที่ ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่




งานจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่


ตามพระราชดำริ ดอยฟ้าห่มปก


ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

พระราชดำริเมื่อ
     เมื่อวันที่ 13 และ 19 มกราคม 2544 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ป่าบริเวณชายแดนไทย-พม่า ดอยฟ้าห่มปก ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดตั้งโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ในเขตโครงการฯ กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 1 ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของกรมประมง เพื่อวางแนวทางการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนกิจกรรมการเลี้ยงปลาในโครงการฯ ตามแนวพระราชดำริ และได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2547

ที่ตั้งโครงการ

โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยฟ้าห่มปก ตั้งอยู่บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวง เขตอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อของพื้นที่

ทิศเหนือ จรดสันดอยป่าคา
ทิศใต้ จรดสันดอยปู่หมื่น
ทิศตะวันออก จรดสันดอยป่าคา
ทิศตะวันตก จรดสันดอยฟ้าห่มปก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรให้ราษฎรในโครงการ ประมาณ 200 ไร่

2. เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือในด้านการอุปโภค-บริโภคให้กับราษฎรในโครงการ
    ประมาณ 41 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 165 คน ได้ตลอดทั้งปี

3. เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือกิจกรรมการเลี้ยงปลาให้ราษฎรในโครงการ

4. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านป่าไม้-สิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพื่อความมั่นคงชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดเชียงใหม่

5. เพื่อเป็นการจัดหาแหล่งน้ำสำรอง เตรียมไว้ใช้ในการสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ (Buffer State) ตามแนวพระราชดำริ

สภาพทั่วไป

สภาพภูมิประเทศ

บริเวณที่ตั้งของพื้นที่ของโครงการฯ อยู่บริเวณลุ่มน้ำแม่สาว, แม่สาวน้อย และแม่แรง เป็นพื้นที่เขาสูงสลับซับซ้อน ตามแนวสันเขาและริมห้วย มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวถึงดอยฟ้าห่มปก ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของพื้นที่ ระดับความสูง + 2,285 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ในพื้นที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่ากล้วยเป็นหย่อม ๆ การซึมซับน้ำค่อนข้างดี

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่โครงการ ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิ 13.7-19.0 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อากาศร้อนจัดในบางช่วง อุณหภูมิ 31.70-34.90 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 25.40 องศาเซลเซียส สถิติปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรในเขตอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ สถานี 07492 ระหว่างปี พ.ศ. 2513 ถึงปี พ.ศ. 2542 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,571.60 มิลลิเมตร จำนวนฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 98.70 วัน อัตราการระเหยเฉลี่ยทั้งปี 1,643.60 มิลลิเมตร
ผลประโยชน์ของโครงการ
1. สามารถจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่มีอยู่เดิม (เฟส 1) และพื้นที่การเกษตรที่ขยายเพิ่มเติม       (เฟส 2) ประมาณ 200 ไร่ ได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2. สามารถจัดหาน้ำช่วยเหลือในด้านอุปโภคบริโภคแก่ราษฎรทั้งสองกลุ่มได้อย่างเพียงพอ
3. สามารถจัดหาน้ำช่วยเหลือกิจกรรมการเลี้ยงปลาของราษฎรในเขตพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยฟ้าห่มปก ได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
4. ราษฎรในโครงการมีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น






สภาพพื้นที่ของโครงการ
นักวิชาการ ส่งมอบกล้าหม่อนผลสด ให้แก่โครงการฯ เพื่อแจกจ่ายเกษตรกร

งานผลิตพันธุ์หม่อนไหม

แผนงานผลิตพันธุ์หม่อนไหม ปี 2550
ผลการดำเนินงาน ระหว่าง (ต.ต.49 - ก.ค.50)

ท่อนพันธุ์หม่อน มีแผนการผลิต 20,000 ท่อน ผลิตได้ 12,000 ท่อน

ต้นพันธุ์หม่อน มีแผนการผลิต 20,000 ต้น ผลิตได้ 18,530 ต้น

หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ชนิดชำถุง

ไข่ไหมพันธุ์หลัก มีแผนการผลิต 40 แผ่น ผลิต ได้ 40 แผ่น

ไข่ไหมพันธุ์ดี มีแผนการผลิต 6,500 แผ่น ผลิตได้ 3,220 แผ่น

ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน ศรีสะเกษ 1 สำหรับผลิตไข่ไหม
ท่านที่สนใจ สามารถติดต่อขอซื้อพันธุ์หม่อน ไหม ได้ที่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยตรง
ช่วงที่เหมาะสมในการรับท่อนพันธุ์หม่อน คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน - มิถุนายน)
ส่วนไข่ไหมสามารถติดต่อ ทำแผนการขอรับได้ตลอดทั้ง ปี โดยจะมีไข่ไหมผลิตออกมาปีละ ประมาณ 6 รุ่น และมีบางส่วนที่เก็บรักษาไว้ในห้องเย็น

8 ส.ค. 2550

สาระน่ารู้ : สำหรับสุขภาพ

เบาหวาน เบาหวาน-หากจะแก้ปัญหาให้ตรงเหตุ จาก มติชน [ SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"> วัน เสาร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 04:18 น. โดย นพ.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ yawapong@anet.net.th
เบาหวาน เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ หลายคนต้องจ่ายค่ายาทุกเดือนในราคาแพง ไม่ว่ายาคุมเบาหวาน ลดไขมันเลือด ลดความดัน ยาหัวใจฯ บางคนกินยาเป็นกำมือ แต่ที่น่ากังวลมากที่สุด คือหากเกิดแทรกซ้อน จะต้องจ่ายค่ารักษาแพงมาก เช่นเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แผลเบาหวานเน่าจนต้องตัดขา ค่ารักษาจะสูงแต่จ่ายเพียงครั้งเดียวหรือเป็นครั้งครา แต่หากเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็อาจรักษาที่บ้าน ซึ่งค่ารักษาอาจไม่แพง แต่จะเป็นภาระหนักสำหรับบุตรหลานและญาติที่ต้องดูแล โรคแทรกซ้อนที่น่ากังวลสุดคือโรคหัวใจล้มเหลวและโรคไตวาย ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวมักมีอาการเหนื่อยง่าย เท้าบวม น้ำท่วมปอดจนนอนราบไม่ได้ มักมาโรงพยาบาลด้วยอาการหอบจนหน้าเขียว อยู่โรงพยาบาลได้รับยาขับน้ำสัก 3-4 วัน อาการดีขึ้น แพทย์ให้กลับบ้าน แต่อีก 1-2 สัปดาห์ก็มีอาการอีก ต้องรับรักษาไว้ในโรงพยาบาล เข้าๆ ออกๆ เป็นเช่นนี้ 1-2 ปีก่อนจะสิ้นชีวิต ส่วนโรคไตวายเรื้อรัง ต้องล้างไตสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ค่าใช้จ่ายประมาณ 2-6 หมื่นบาทต่อเดือน บางรายจ่ายสูงกว่านี้ อาจล้างอยู่นานหลายปี โรคไตวายจะเป็นภาระค่ารักษาที่ใช้เงินมากที่สุด แม้หลักประกันสุขภาพฯ (30 บาทรักษาทุกโรค) ก็ยังไม่อาจรับภาระค่าล้างไตไว้ในโครงการ โรคเบาหวานร้อยละ 90 เป็นเบาหวานประเภท 2 เป็นผู้ใหญ่พุงพลุ้ย และชอบกินแป้งกินหวาน พุงพลุ้ยเป็นสัญลักษณ์ว่าร่างกายได้สะสมสารอาหารเกือบเต็มพิกัด เซลล์เนื้อเยื่อจะไม่ตอบสนองต่อฤทธิ์อินซูลินเพื่อปิดกั้นมิให้สารอาหารผ่านเข้าเซลล์เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีกรดไขมันอิสระทะลักออกมาจากไขมันพุงเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเก็บสะสมน้ำตาลเป็นไกลคอเจนได้น้อยลงด้วย คนพุงพลุ้ยเมื่อบริโภคน้ำตาลและแป้งเป็นจำนวนเกิน ก็จะมีระดับน้ำตาลเลือดสูงในช่วงหลังอาหาร การกินแป้งและน้ำตาลมากร่างกายจะผลิตกรดแลคติกเพิ่มขึ้น บวกกับกรดไขมันที่ทะลักจากไขมันพุง ทำให้ ช่วงท้องว่างมีการผลิตน้ำตาลที่ตับและไตเพิ่มขึ้น ระดับน้ำตาลเลือดที่เจาะก่อนอาหารเช้าจึงสูงด้วย คลีนิคเบาหวาน เกือบทุกแห่งมีผู้ป่วยมารับบริการเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี ที่โรงพยาบาลรัฐแพทย์มีเวลาให้ 2-3 นาทีต่อคน แม้จะคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ก็ไม่ค่อยมีเวลาไต่ถามเรื่องอาหารการกินอย่างละเอียด ทั้งๆ ที่มีสาเหตุจากการกินเกิน หลังซักไซ้ชื่อแซ่ ดูระดับน้ำตาลก็ต้องรีบจบด้วยเขียนใบสั่งยาแล้วไปดูแลผู้ป่วยคนต่อไป ยาที่ให้ส่วนใหญ่เป็นยากินลดน้ำตาล ซึ่งออกฤทธิ์ระงับการสร้างน้ำตาลที่ตับ จึงมักเกิดร่างกายขาดน้ำตาลช่วงท้องว่าง คือมีอาการมึนศีรษะ ใจสั่น โหยอยากกินหวาน และเมื่อกินหวานอาการก็ดีขึ้น คนกินยามากจะอยากกินหวานโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นเหตุให้คุมน้ำตาลไม่ได้ แพทย์ผู้รักษาพบผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นมักเพิ่มยาให้แรงขึ้น ผลคือผู้ป่วยยิ่งมีอาการโหยน้ำตาลบ่อยขึ้น และบางครั้งเกิดอาการช็อคน้ำตาล สุดท้ายหลายคนก็ต้องจบด้วยการฉีดอินซูลิน และต้องฉีดขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แพทย์บางท่านนิยมใช้ยาใหม่ยาแพง อาจเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญคิดว่าต้องใช้ยาพิเศษต่างจากแพทย์ทั่วไป มีข้าราชการรายหนึ่ง จ่ายค่ายาเดือนละ 2-3 พันบาท บอกว่าโชคดีที่เบิกหลวงได้ แต่โชคของท่านก็เป็นเรื่องปวดหัวของกรมบัญชีกลางและผู้เสียภาษี ความจริง ยาเหล่านี้ก็ไม่ช่วยคุมน้ำตาลหรือป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ดีกว่า อีกทั้งหารู้ไม่ว่าตนกำลังตกเป็นหนูลองยา ประเมินว่า ประเทศต้องจ่ายค่ายารักษาเบาหวาน ปีละ 3.5-8.4 หมื่นล้านบาท ความจริงอาจเป็นเงินสูงกว่านี้หลายเท่า ผู้ป่วยที่รับการรักษาปัจจุบันร้อยละ 70 คุมเบาหวานถือว่าอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี (FBS>140 มก/ดล. หรือ HbA 1c>7%) คนกลุ่มนี้ย่อมมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนสูง หมายความว่า ทรัพยากรที่ทุ่มเทไปได้ประสิทธิภาพผลต่ำมาก หลายคนที่เคยเป็นเบาหวาน กล่าวยืนยันว่า ยาสมุนไพรก็ช่วยแก้ได้ มีการสำรวจคร่าวๆ พบผู้ป่วยเบาหวานเกือบร้อยละ 80 ใช้ยาสมุนไพรร่วมด้วยโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ บางคนไม่ยอมกินยาหมอ จะใช้แต่สมุนไพร การกล่าวอ้างว่าเบาหวานหายก็มิใช่ว่าจะไร้พื้นฐานความเป็นจริง คือไม่ว่ายาสมุนไพรจะช่วยได้จริงหรือไม่ เมื่อทราบว่าเป็นเบาหวานก็พยายามคุมกินแป้งกินหวานให้น้อยลง การตรวจน้ำตาลเลือดครั้งต่อไปก็ย่อมดีกว่าเดิม เป็นการประหยัดเงินหลวงเงินราษฎร์ได้ไม่น้อย แต่คงไม่ปรากฏเป็นข้อมูลสถิติที่ในที่ใดๆ สมาคมเบาหวานสหรัฐอเมริกา (ADA) ได้แถลงแนวทางการรักษา เน้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (life style intervention) ลดน้ำหนักโดยการจำกัดอาหาร ออกกำลังกาย ว่าเป็นการรักษาที่สำคัญเป็นอันดับแรก (Diabetes Care 2007;30:S4) ส่วน EASD และ IDF (European Association for the Study of Diabetes, International Diabetes Federation) ก็มีแนวการรักษาคล้ายกัน โดยxxxทุกคนมักจะชอบดำรงชีวิตแบบเดิมๆ (status quo) และหากจะให้มีการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องคำนึงว่า ต้องลงทุนหรือสูญเสียอะไร แล้วอะไรเป็นสิ่งตอบแทน และมีความยุ่งยากหรือคุ้มค่าในการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน โรคเบาหวานระยะแรกมักไม่มีอาการ ส่วนโรคแทรกซ้อนก็เป็นสิ่งอาจเกิดขึ้นใน 15-20 ปีข้างหน้า ซึ่งก็เป็นอนาคตที่เลือนราง จึงไม่ค่อยเป็นแรงจูงใจให้เปลี่ยนแปลงเพราะยังไม่เห็นโลงศพ การเปลี่ยนแปลงอาจมีความยุ่งยากในการจัดหา หรือต้องสูญเสียความสุขที่ได้บริโภคอาหารที่อร่อยและคุ้นปาก คนที่ยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตจึงมักจะเป็นคนมีภาวะใกล้วิกฤต แต่บางครั้งก็อาจเป็นช่วงสั้น คือเมื่อความรู้สึกวิกฤตผ่านไป ก็กลับมามีนิสัยการกินแบบเดิมๆ พื้นฐานความคิดของแต่ละคนก็มีน้ำหนักต่อการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง เช่น คนที่มีความรู้สึกชีวิตรันทด หากบอกว่าการเปลี่ยนนิสัยการกินจะช่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ก็คงไม่เป็นสิ่งจูงใจพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การชอบกินหวานเป็นธรรมชาติของสัตว์สิ่งมีชีวิต ทั้งมนุษย์และสัตว์ทดลอง หากให้กินน้ำตาลแล้วตรวจสมองด้วย PETscan จะพบว่ามีสาร dopamine เพิ่มขึ้นที่ส่วน Limbic system ซึ่งทำให้รู้สึกมีความสุขคล้ายสารออกฤทธิ์ทางประสาทบางชนิด คนที่ชอบกินหวานตั้งแต่เด็กจะเลิกกินหวานได้ยาก บางคนเวลาเครียดหากได้กินของหวานจะรู้สึกสบายขึ้น บางคนมีอาการติดหวาน (sugar addict) จนหากงดกินหวานจะเกิดอาการลงแดง (withdrawal) หรือบางคนหากไม่ได้กินข้าวจะเกิดอาการโหยแป้ง (carbohydrate craving) ขึ้นมา ปัจจุบัน สังคมไทยกินอะไรก็หวานไปหมด จนดูจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สานทออย่างแนบแน่นกับชีวิตประจำวัน นอกจากขนมของหวาน เครื่องดื่ม น้ำอัดลม แม้แต่อาหารคาว หรืออาหารสำเร็จรูปที่จัดจำหน่าย ก็ล้วนเติมน้ำตาลให้มีรสหวาน น้ำจิ้ม ซอสปรุงรส ซอสมะเขือเทศก็เต็มไปด้วยน้ำตาล ผลไม้ที่ขายในตลาดหากไม่หวานก็ไม่มีคนซื้อ แม้แต่พันธุ์ข้าวที่บริโภคก็ยังมี glycemic index มากกว่าพันธุ์ข้าวที่ปลูกในประเทศอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ธุรกิจก็จำต้องผลิตสินค้าอาหารที่ออกรสหวาน คนที่จำต้องหลีกเลี่ยงการกินหวาน กินน้ำตาล การจัดหาอาหารจะมีความยุ่งยากไม่น้อย อาหารเพื่อคุมเบาหวาน ก็คล้ายกับสูตรอาหาร NCEP step I หรือที่ ADA แนะนำ คือต่อวันอย่างน้อยควรมีโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 50-70 กรัม (เทียบเป็นเนื้อสัตว์ 250 ถึง 350 กรัม) และมีไขมันในอาหารประมาณ 75 กรัม แต่ที่แตกต่างคือเน้นบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ อนุญาตให้กินผักจำนวนไม่จำกัด และพยายามจำกัดอาหารแป้งและน้ำตาลจนกว่าได้ระดับน้ำตาลเลือดใกล้ปกติ มีผู้ป่วย 4-5 รายที่กินยาหรือฉีดยามานานกว่า 10 ปี เบื่อกับการฉีดยากินยามากๆ แต่กลับคุมน้ำตาลไม่ได้เลย และเกรงกลัวโรคแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง ได้ลองคุมอาหารอีกทั้งมีการตรวจน้ำตาลเลือดที่ปลายนิ้วเองทุกวัน ปรับลดยาและติดตามปริมาณและชนิดอาหารที่กิน ทุกท่านบอกว่าพุงยุบลง หลายท่านสามารถลดน้ำตาลจนเกือบปกติโดยไม่ต้องฉีดอินซูลินอีก ยาที่กินก็ลดน้อยลงมาก ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเดิมค่ายาเดือนละหมื่นกว่าบาท เดียวนี้ค่ายาเหลือเดือนละร้อยกว่าบาท บางครั้งตบะแตกเผลอกินของอร่อยไปบ้าง พอพบว่าน้ำตาลขึ้นก็รีบกลับมาเข้มงวดเรื่องอาหาร ท่านเหล่านี้บอกว่า ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 70% ขึ้นอยู่กับความพยายามของผู้ป่วยเอง การเปลี่ยนอาหารก็ไม่รู้สึกหิว ใหม่ๆ อาจรู้สึกไม่คุ้นเคย แต่เมื่อทำสำเร็จจะเกิดความภาคภูมิใจมาก มีความเชื่อมั่นว่าเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตตนเองได้มากกว่าการพึ่งแพทย์และยา หลายท่านชอบให้ความรู้จากประสบการณ์แก่ผู้อื่นเมื่อมีโอกาส ว่าอาหารอะไรกินได้ อาหารอะไรกินแล้วน้ำตาลขึ้น ผู้เขียนก็ได้ความรู้มาไม่น้อยหลายครั้งไปร่วมบรรยายกับแพทย์ ผู้ฟังจะสนใจสอบถามซักไซ้กับผู้ปฏิบัติมากกว่า ว่าทำได้อย่างไร กินอะไรถึงคุมน้ำตาลได้ พร้อมกับขอเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อ ด้วยประสบการณ์ที่กล่าวมา เห็นว่าหากสามารถรวบรวมผู้ที่พิชิตเบาหวานได้ ตั้งเป็นชมรม Diabetes Alliance หรือพันธมิตรสู้เบาหวาน ส่งเสริมให้เป็นตัวอย่างและวิทยากรแนะนำการปฏิบัติแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และหากเกิดเครือข่ายเป็นวงกว้าง ย่อมจะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตจากโรคเบาหวานของประเทศได้ไม่น้อย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหาร แม้จะมีอุปสรรค คือคนเป็นเบาหวานมักไม่เห็นวิกฤตสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การให้ลดกินหวานก็เป็นสิ่งฝืนกับxxxธรรมชาติและความเคยชิน อีกทั้งสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบันก็เต็มไปด้วยอาหารที่ใส่หวานใส่น้ำตาล จะมีความยุ่งยากไม่น้อยในการจัดหาอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ แต่ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาโรคเบาหวานที่ตรงกับเหตุ ทั้งได้ผลและคุ้มค่าที่สุดด้วย

สำนักงานใหญ่

อาคารสำนักงาน ต.หนองควาย ด.หางดง จ.เชียงใหม่
โทร. 053-114096-8 Fax. 053114097