ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

23 มิ.ย. 2552

สส.ลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย หนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาราษฎร จังหวัดลำพูน ได้เป็นประธานในพิธีแจกจ่าย ต้นกล้าพันธุ์หม่อน และปัจจัยการผลิตหม่อนไหม ให้เกษตรกร อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันในเขตจังหวัดลำพูนมีเกษตรกรกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 120 ราย โดยปลูกในพื้นที่ อ.ป่าซาง อ.เวียงหนองล่อง อ.แม่ทา อ.ลี้ อ.บ้านโฮ่ง อ.เมือง และอ.ทุ่งหัวช้าง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 240 ไร่ เกษตรกรเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมชนิดรังสีเหลือง ส่งจำหน่ายให้กับโรงงานสาวเส้นไหม ในจังหวัดเชียงใหม่ ในราคากิโลกรัมละ 130 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการเลี้ยงไหม ปีละ 4 – 5 รุ่นๆ ละ 3,000 – 4,000 บาท เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางโดยไม่ต้องรอรายได้จากการผลิตอาชีพเกษตรอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ปีละ 1 ครั้ง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้สนับสนุนต้นกล้าหม่อนพันธุ์ดี และปัจจัยการผลิตไหมได้แก่ วัสดุจัดสร้างห้องเลี้ยงไหม และวัสดุการเลี้ยงไหม รวมทั้งวัสดุที่ให้ตัวหนอนไหมทำรัง เป็นต้น ส่วนนายขยัน วิพรหมชัย สส.ลำพูน เปิดเผยว่า จะช่วยผลักดันและสนับสนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของราษฎรในพื้นที่ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายหนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างเต็มที่ ขณะนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กำลังเสนอร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมฯ (กรมหม่อนไหม) เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในเดือน สิงหาคม นี้ ในส่วนของจังหวัดลำพูน ทางผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนและ อ.บ.จ.ลำพูน ได้ให้การสนับสนุน ในหลาย ๆ ด้านเพื่อให้อาชีพนี้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรต่อไป รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน ที่มีคู่กับจังหวัดลำพูนมาหลายร้อยปี ให้เป็นสินค้าแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GIs) ที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพานิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผู้ทอผ้าไหมยกดอกลำพูนในเขต จังหวัดลำพูน ได้รับประโยชน์มากถึง 500 ครอบครัว

การผลิตน้ำมัลเบอรี่ สเตอไรส์ ชนิดพร้อมดื่ม

น้ำมัลเบอรี่พร้อมดื่มชนิดเสตอริไรส์ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติเชียงใหม่ มีการจัดทำการแปรรูปผลผลิตหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ซึ่งเป็นพันธุ์รับประทานผลสดที่มีรสชาติดีพันธุ์หนึ่งมาทำเป็นน้ำพร้อมดื่มให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานมากขึ้นโดยที่คุณสมบัติของสารอาหารที่สำคัญยังมีอยู่และรสชาติที่มีความเฉพาะคงที่เหมือนเดิม ตามฤดูกาลปกติผลหม่อนจะเก็บเกี่ยวได้ดีในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายนเท่านั้น จึงถือได้ว่าช่วงการเก็บเกี่ยวค่อนข้างสั้น ดังนั้นการแปรรูปผลผลิตจึงเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตและเป็นพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหม่ๆให้กับผู้บริโภคได้เลือกเครื่องดื่มที่สามารถบำรุงสุขภาพได้ดีอีกชนิดหนึ่งด้วย วิธีการทำน้ำหม่อนพร้อมดื่มชนิดเสตอริไรส์นี้ เป็นการแนะนำความรู้ การทำโดยการใช้วัสดุเครื่องครัวตามบ้านเรือนได้และวิธีการไม่ซับซ้อน เกษตรกรผู้ปลูกสามารถทำได้ง่าย จะมีเครื่องมือบางชิ้นที่อาจต้องหาซื้อเพิ่มซึ่งหาซื้อได้ในร้านค้าเฉพาะกิจนั้นๆ อุปกรณ์ที่ใช้ 1.ขวดแก้วขนาดบรรจุ 250-300 ซีซี (ชนิดที่ปิดฝาด้วยฝาจีบ) 2.เครื่องอัดฝาจีบ 3.ฝาจีบ 4.หม้อต้มขวดน้ำทรงสูง(แบบหม้อก๋วยเตี๋ยว) 5.หม้อต้มน้ำหม่อนขนาดประมาณ 30-50 ซม. 6.ผ้าขาวบาง 7.เครื่องปั่นน้ำผลไม้ 8.ตะแกรงสำหรับสะเด็ดน้ำผลหม่อน 9.เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์น้ำตาลขนาด 0-32 องศาบริกซ์ 10.เตาแก๊ส วิธีทำ(การทำน้ำมัลเบอรี่จำนวน10 ลิตร) 1.นำผลหม่อนขนาดความสุกแดงดำ-ม่วงดำ มาล้างทำความสะอาดและให้สะเด็ดน้ำ จำนวน 2 กก. 2.นำไปปั่นผลให้ละอียดพอควรแล้วนำไปต้มน้ำประมาณ3ลิตรให้เดือด 3.นำน้ำมัลเบอรี่ที่ต้มซึ่งสุกและเนื้อผลนิ่มแล้วไปกรองเอาน้ำและแยกกาก(เมล็ดและกาก)ออกทิ้ง แล้วเติมน้ำให้ครบจำนวน 10ลิตร 4.ใส่น้ำตาลทราย ให้น้ำหม่อนนั้นมีความหวานที่ระดับ 14-15 องศาบริกซ์ จากนั้นให้ใส่กรดมะนาว15กรัม(15กรัมต่อน้ำ10ลิตร) 5.นำไปต้มให้เดือดนาน20นาที 6.เมื่อน้ำมัลเบอรี่ลดอุณหภูมิลงหรืออุ่นแล้วให้บรรจุใส่ขวดที่เตรียมไว้ขวดละ 250 ซีซี.โดยประมาณ 7.ปิดขวดด้วยฝาจีบโดยใช้เครื่องอัดฝาจีบ 8.นำน้ำมัลเบอรี่ที่บรรจุขวดเรียบร้อยนั้นไปต้มในหม้อต้มทรงสูงให้น้ำท่วมสูงระดับคอขวดให้เดือดนาน20นาที แล้วยกขวดออกจากหม้อต้ม ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น 9.ทำความสะอาดขวดและปิดฉลาก(ถ้ามี) 10.เก็บรักษา รอส่งจำหน่าย น้ำมัลเบอรี่ที่ผลิตได้ตามขบวนการนี้เราเรียกว่า การทำน้ำมัลเบอรี่ชนิดเสตอริไรส์ ซึ่งสามารถจะเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 6 เดือนด้วยกัน จึงเป็นช่องทางการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรได้ดีเพิ่มขึ้นอีกมาก ดังนั้นในชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มที่ดี(แบบวิสาหกิจชุมชน) สามารถทำในเชิงธุรกิจได้ดีเป็นอันมากโดยฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันกระแสความนิยมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ

22 มิ.ย. 2552

สส.ลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย หนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม


สส.ลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย หนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาราษฎร จังหวัดลำพูน ได้เป็นประธานในพิธีแจกจ่าย ต้นกล้าพันธุ์หม่อน และปัจจัยการผลิตหม่อนไหม ให้เกษตรกร อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันในเขตจังหวัดลำพูนมีเกษตรกรกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 120 ราย โดยปลูกในพื้นที่ อ.ป่าซาง อ.เวียงหนองล่อง อ.แม่ทา อ.ลี้ อ.บ้านโฮ่ง อ.เมือง และอ.ทุ่งหัวช้าง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 240 ไร่ เกษตรกรเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมชนิดรังสีเหลือง ส่งจำหน่ายให้กับโรงงานสาวเส้นไหม ในจังหวัดเชียงใหม่ ในราคากิโลกรัมละ 130 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการเลี้ยงไหม ปีละ 4 – 5 รุ่นๆ ละ 3,000 – 4,000 บาท เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางโดยไม่ต้องรอรายได้จากการผลิตอาชีพเกษตรอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ปีละ 1 ครั้ง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้สนับสนุนต้นกล้าหม่อนพันธุ์ดี และปัจจัยการผลิตไหมได้แก่ วัสดุจัดสร้างห้องเลี้ยงไหม และวัสดุการเลี้ยงไหม รวมทั้งวัสดุที่ให้ตัวหนอนไหมทำรัง เป็นต้น ส่วนนายขยัน วิพรหมชัย สส.ลำพูน เปิดเผยว่า จะช่วยผลักดันและสนับสนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของราษฎรในพื้นที่ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายหนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างเต็มที่ ขณะนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กำลังเสนอร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมฯ (กรมหม่อนไหม) เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในเดือน สิงหาคม นี้ ในส่วนของจังหวัดลำพูน ทางผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนและ อ.บ.จ.ลำพูน ได้ให้การสนับสนุน ในหลาย ๆ ด้านเพื่อให้อาชีพนี้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรต่อไป รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน ที่มีคู่กับจังหวัดลำพูนมาหลายร้อยปี ให้เป็นสินค้าแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GIs) ที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพานิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผู้ทอผ้าไหมยกดอกลำพูนในเขต จังหวัดลำพูน ได้รับประโยชน์มากถึง 500 ครอบครัว

17 มิ.ย. 2552

หม่อนไหมเชียงใหม่ประกวดคัดสรรออกแบบชุดผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ระดับเยาวชน

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้จัดประกวดคัดสรรออกแบบชุดผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานระดับเยาวชน (อายุไม่เกิน 25 ปี) ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในวงการผ้าไหมมาเป็นกรรมการในการตัดสิน ได้แก่ นายสุเมธ พันธุ์แก้ว นายธนนันท์น วิลสัน และนางสุชาดา ตีระพัฒนกุล โดยมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ร่วมเป็นคณะกรรมการในการคัดสรรนี้ด้วย ได้แก่ นางสาวหทัยกาญจน์ นำภานนท์ และนางมุกดา กันทะวงค์ เพื่อคัดสรรภาพสเก็ตชุดผ้าไหม 4 ประเภท คือ ชุดราตรี ชุดทำงานสตรี ชุดทำงานบุรุษ และชุดเดินทางสตรี โดยแต่ละประเภทจะคัดเลือกประเภทละ 3 ชุด รวมเป็นชุดทั้งหมด 12 ชุด เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นชุดผ้าไหมที่ใช้ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานในการตัดเย็บ ซึ่งผลการคัดเลือกทำให้เราได้นักออกแบบในระดับเยาวชน จำนวน 12 คน จากสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ จำนวน 9 คน ได้แก่ นายณัฐพล ตาคำ นางสาวฐิติมา อินทรชัย นายศุภณัฐ ประกอบการ นางสาววัณณะ สอนไม้ นายสุธร เศรษฐมังกร นายวรพันธ์ กันทะวงค์ นายนพคุณ แก่นสาร นายภานุวัฒน์ สุคันธรส และนายธงชัย ปินไชย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 2 คน ได้แก่ นายณรงค์สิทธิ์ บุตรพรม และนายจาตุรงค์ จิวหานัง และนักออกแบบอิสระ 1 คน ได้แก่ นายสัญลักษณ์ มีสวัสดิ์ โดยชุดที่ได้การคัดเลือกให้นำไปตัดเย็บจะถูกส่งไปประกวดในระดับประเทศในงานนกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทย วันที่ 6-10 สิงหาคม 2552 โดยจะทำการประกวดในระดับประเทศในวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 ซึ่งจัดโดยสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ